ทำไมสมุนไพรบางชนิดต้องใช้แอลกอฮอล์ในสกัด ?

เมื่อได้ยินคำว่า “ใช้แอลกอฮอล์” สกัดสมุนไพร ก็อาจทำให้หลายๆ คนเกิดข้อสงสัยว่าทำไมต้องใช้แอลกอฮอล์ในการสกัดสมุนไพรด้วย..? วันนี้ เราหาคำตอบมาให้ทุกคนแล้วค่ะ

สารสําคัญในพืชสมุนไพร เป็นสารประกอบที่บ่งบอกความเฉพาะตัวของสมุนไพรซึ่งสารแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันโดยละลายได้ในตัวทําละลายที่ต่างกัน บางชนิดอาจจะละลายได้ในตัวทําละลายเพียงอย่างเดียว  หรือบางชนิดละลายได้ในตัวทําละลายหลายชนิด ซึ่งสารบางชนิดมีขั้วจึงสามารถละลายน้ำได้ สารบางชนิดเป็นสารกึ่งมีขั้วจึงสามารถละลายได้ดีในแอลกอฮอล์และสารบางชนิดเป็นสารไม่มีขั้วทําให้ไม่สามารถละลายน้ำได้แต่ละลายได้ดีในตัวทําละลายสารอินทรีย์

ดังนั้นในการสกัดสารเราจะต้องทราบว่าสารนั้นมีคุณสมบัติอย่างไรเพื่อที่จะได้เลือกวิธีและตัวทําละลายที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อจะใช้ในการสกัดต่อไปนั้นเอง

 

ยกตัวอย่าง

– ในขิงจะมีทั้งสารที่มีสีและสารที่มีกลิ่น โดยสารที่มีสีจะละลายในแอลกอฮอล์ได้ดีกว่าในน้ำ แต่สารที่มีกลิ่นจะละลายในน้ำได้ดีกว่าในแอลกอฮอล์ ดังนั้นถ้าจะแยกสารที่มีสีออกจากขิงควรเลือกแอลกอฮอล์เป็นตัวทําละลาย แต่ถ้าจะแยกสารที่มีกลิ่นออกจากขิงควรเลือกน้ำเป็นตัวทําละลาย

– น้ำสกัดสีจากขมิ้นได้ดีกว่าแอลกอฮอล์ถ้าใช้ตัวทําละลายที่ผสมน้ำและแอลกอฮอล์เข้าด้วยกัน สารที่สกัดที่ได้จะมีทั้งสีและกลิ่นรวมอยู่ด้วยกัน

– น้ำเป็นตัวทําละลายที่ถูกนํามาใช้สกัดสารสีต่างๆ จากพืช เช่น สีเขียวจากใบเตย สีเหลืองจากขมิ้น สีแดงจากกระเจี๊ยบ สีน้ำเงินจากอัญชัน เป็นต้น

 

สรุป

การสกัดสารจะได้ผลดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการเลือกตัวทําละลายที่เหมาะสมเนื่องจากสารประกอบในพืชมีมากมายหลายชนิด และมีคุณสมบัติแตกต่างกันมาก การเลือกใช้ตัวทําละลายเดียวที่จะสกัดได้สารทุกกลุ่มที่ต้องการนั้นจึงทําได้ยาก ดังนั้นการเลือกตัวทําละลายที่ถูกต้องและเหมาะสมคือ ดูว่าสารสําคัญที่มีอยู่ในพืชที่เราจะสกัดสามารถละลายได้ในตัวทําละลายใด เราก็ใช้ตัวทําละลายนั้นมาใช้สกัด เพื่อผลลัพธ์และคุณภาพที่ดีที่สุดของเราค่ะ

บทความใกล้เคียง

ประชาสัมพันธ์

“แน็พ ไบโอเทค” ชูนวัตกรรมสกัดสารจากพืชสมุนไพรไทย เพิ่มมูลค่าผลผลิตให้เกษตรกร ส่ง “กระท่อม” บุกตลาดต่างประเทศ ตั้งเป้าสร้างรายได้ 250 ล้านบาทต่อปี

ประชาสัมพันธ์

บริษัท แน็พ ไบโอเทค จำกัดร่วมกับ บริษัท เนเจอร์ อโกร โปรดักซ์ จำกัด ออกงานแสดงสินค้าในงานจีน-อาเซียน

ประชาสัมพันธ์

วันที่ 13 กันยายน 2566 บริษัท แน็พ ไบโอเทค จำกัด ร่วมกับ บริษัท